เครื่องดนตรีไทยประเภทต่างๆ

 

คำอธิบาย: http://krupeak.igetweb.com/article/art_218314.gif

 

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/00.jpg

 ในปัจจุบันเมื่อพูดถึง เครื่องดนตรีไทย เรามักจะเข้าใจกันแต่เพียง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงกันอยู่ใน วงดนตรีไทย ทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ความจริงแล้ว เครื่องดนตรีไทย ยังมีอีกมากมาย รวมถึง เครื่องดนตรีไทย โบราณที่เลิกใช้แล้ว หรือ เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ และ เครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อที่จะได้รู้จัก และมีความรู้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทย กว้างขวางขึ้น ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึง เครื่องดนตรีไทย โดยแยกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้บรรเลงกันอยู่ใน วงดนตรีไทย ในปัจจุบัน
  • เครื่องดนตรีไทยโบราณ และ เครื่องดนตรีไทยที่ใช้ในงานพระราชพิธี
  • เครื่งอดนตรีไทยพื้นเมือง

เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้บรรเลงกันอยู่ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องดีด
เครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องดีด ที่ยังนิยมใช้บรรเลงกันอยู่ใน วงดนตรีไทย ในปัจจุบันนี้ มีอยู่ชนิดเดียว คือ

  • จะเข้ เป็นเครื่องดีดที่มีเสียงกันวานไพเราะมาก เข้าใจกันว่า จะเข้ ได้รับการปรับปรุงมาจากพิณ เพื่อให้นั่งดีดได้สะดวกและไพเราะ จึงวางราบไปตามพื้น ตัวจะเข้ ทำด้วยไม้แก่นขนุนท่อนเดียวกัน มีเท้ารองตอนหัว 4 อัน และปลายหางอีก 1 อัน มี 3 สาย เป็นลวดทองเหลือง 1 สาย และสายเอ็น 2 สาย ใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลม ทำด้วยกระดูกสัตว์หรืองา เวลาดีดเคียนไม้ดีดด้วยเส้นด้าย ติดกับปลายนิ้วชี้ของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง ช่วยกันจับเพื่อให้มีกำลัง จะเข้ ใช้บรรเลงร่วมใน วงเครื่องสาย และ วงมโหรี หรือใช้บรรเลงเดี่ยวประกอบการแสดง

         เครื่องสี

เครื่องสี เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลง หรือเล่นโดยใช้คันชักเข้ากับสาย เกิดขึ้นภายหลังเครื่องดีด อันได้แก่ เครื่องดนตรีไทย ที่เรียกว่า "ซอ" .. ซอที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทยมี 3 ชนิด คือ ซอสามสาย ซออู้ และ ซอด้วง

 

 

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/10.jpg


ซอสามสาย

ปรากฎหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ น่าเกลียดมาก 
มีสามสายเรียกว่า “ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน 
และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้ จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยะในทางด้านศิลปะ 
ต่างๆ เช่นทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต 
งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้

ส่วนต่างๆของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้

(1) ทวนบน เป็นส่วนบนสุดของคันซอ คว้านด้านในให้เป็นโพรงโดยตลอด ด้านบนสุดมีรูปร่างเป็นทรงเทริด ทวนบนนี้ เจาะรูด้าน 
ข้างสำหรับใส่ลูกบิด 3 ลูก ด้านหน้าตรงปลายทวนตอนล่าง เจาะรูสำหรับร้อยสายซอ ที่สอดออกมาจากรัดอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 
อกซอ ทวนบนนี้ทำหน้าที่คล้ายๆกับท่ออากาศ (Air column) ให้เสียงที่เกิดจากกะโหลกเป็นความถี่ของเสียง แล้วลอดผ่านออกมา 
ทางทวนบนนี้ได้

(2) ทวนล่าง คือส่วนของซอที่ต่อลงมาจากทวนบน ทำเป็นรูปทรงกระบอก และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เช่นลงยาตะทอง ลงถมปัด 
ประดับมุก หรืออย่างอื่น เป็นการเพิ่มความวิจิตรงดงาม และเรียกทวนล่างนี้ว่า ทวนเงิน ทวนทอง ทวนมุก ทวนลงยา เป็นต้น ทวนล่างนี้สวมยึดไว้กับทวนบน และเป็นที่สำหรับผูก “รัดอก” เพื่อบังคับให้สายซอทั้ง 3 เส้นติดอยู่กับทวน นอกจากนั้นทวนล่าง 
ยังทำหน้าที่เป็นตำแหน่งสำหรับกดนิ้ว ลงบนสายในตำแหน่งต่างๆ

(3) พรมบน คือส่วนที่ต่อจากทวนล่างลงมา ส่วนบนกลึงเป็นลูกแก้ว ส่วนตอนล่างทำเป็นรูปปากช้างเพื่อประกบกับกะโหลกซอ

(4) พรมล่าง คือส่วนที่ต่อจากกะโหลกซอลงมาข้างล่าง ส่วนที่ประกบกับกะโหลกซอทำเป็นรูปปากช้าง เช่นเดียวกับส่วนล่างของ 
พรมบน ตรงกลางของพรมล่างเจาะรูด้านบนเพื่อใช้สำหรับเป็นที่ร้อย”หนวดพราหมณ์” เพื่อคล้องกับสายซอทั้งสามสายและ 
เหนี่ยวรั้งให้ตึง ตรงส่วนปลายสุดของพรมล่างกลึงเป็น “เกลียวเจดีย์” และตอนปลายสุดเลี่ยมด้วย ทองคำ หรือ ทองเหลืองเป็นยอด 
แหลม เพื่อที่จะปักกับพื้นได้ สะดวกยิ่งขึ้น คันซอสามสายทั้ง 4 ท่อนนี้จะมีลักษณะกลวงตลอด ยกเว้นพรมล่างตอนที่เป็นเกลียวเจดีย์ 
เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ตัน เพราะต้องการ ความแข็งแรง ในขณะปักสีเวลาบรรเลง และคันซอทั้ง 4 ท่อนนี้ จะสวมไว้กับแกนที่สอดไว้กับ 
กะโหลกซอ

(5) ถ่วงหน้า ถ่วงหน้าของซอสามสาย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ติดอยู่ตรงหน้าซอ เพื่อควบคุมความถี่ของเสียง ทำให้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะ 
น่าฟังยิ่งขึ้น

(6) หย่อง ทำด้วยไม่ไผ่ แกะให้เป็นลักษณะคู้ ปลายทั้งสองของหย่องคว้านเป็นเบ้าขนมครกเพื่อทำให้เสียง ที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปยังหน้าซอมีความกังวานมากยิ่งขึ้น

(7) คันสี (คันชัก) คันสีของซอสามสาย ประกอบด้วยไม้และหางม้า คันสีนั้นเหลาเป็นรูปคันศร โดยมากนิยมใช้ไม้แก้ว เพราะเป็น 
ไม้เนื้อแข็ง และมีลวดลาย'งดงาม


ซออู้

เป็นซอ 2 สาย ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ชนิดกลมรีขนาดใหญ่ ใช้หนังแพะ หรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันซอ หรือ ทวน ทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้แก้ว หรือ ทำด้วยงาตันก็มี ที่หน้าซอที่ตรงกลางที่ขึ้นหนัง ใช้ผ้าม้วนกลม ๆ เป็นหมอนหนุนสายให้พันหน้าซอ คันชัก ทำด้วยไม้จริง หรืองา ใช้ขนหางม้าประมาณ 160-200 เส้น สำหรับขึ้นสายคันชัก เหมือนสายกระสุน หรือ หน้าไม้ ซออู้ ใช้บรรเลงร่วมใน วงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

 

 

 

 

ซอด้วง

เป็นซอ 2 สาย เช่นกัน ทั้งทวนและคันชักทำอย่างเดียวกับ ซออู้แต่ขนาดย่อมกว่าและสั้นกว่าเล็กน้อย กะโหลกซอด้วงเดิมทำด้วยกะโหลกไม้ไผ่ ต่อมาใช้ไม้จริงและงา ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น ทำด้วยไม้ลำเจียก ใช้หนังงูเหลือมขึงหน้าซอ เนื่องจากลักษณะกะโหลกซอด้วง คล้ายเครื่องดักสัตว์ที่เรียกว่า "ด้วง" เช่น เครื่องดักแย้ จึงเรียกเครื่องสีชนิดนี้ตามรูปร่างลักษณะนั่นเอง ซอด้วงมีเสียงสูง ดังแหลมกว่าซออู้ ใช้บรรเลงวงเครื่องสาย และ วงมโหรี

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/11.jpg

 

 เครื่องตี
เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่เข้าใจว่า เกิดขึ้นก่อนเครื่องดนตรีประเภทอื่น ๆ ซึ่งได้มีการแก้ไข ปรับปรุงวิวัฒนาการ มาโดยลำดับ เครื่องตีที่ใช้ใน

วงดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 3 จำพวกคือ 

เครื่องตีทำด้วยไม้

  • กรับพวง ทำด้วยไม้บาง ๆ หรือแผ่นทองเหลือง หรืองา และมีไม้แก่นหรืองา 2 อัน เจาะรูตรงหัว ร้อยประกบไว้สอบข้างอย่างด้ามพัด เวลาตีใช้มือหนึ่งถือตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดอีกข้างหนึ่งลงบนฝ่ามือ กรับพวง เดิมใช้เป็นอาณัติสัญญาณ การเสด็จออกพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน อย่างที่เรียกว่า รัวกรับ ภายหลัง นำมาใช้ตีเป็นจังหวะประกอบการเล่นพื้นเมือง เช่น เพลงเรือ ดอกสร้อย และสักวา และการขับร้องประกอบการแสดงนาฎกรรม
  • กรับเสภา ทำด้วยไม้แก่น โดยปกติทำด้วยไม้ชิงชัน เหลาเป็นรูปสี่เหลี่ยม เสียนิดหน่อย เพื่อมิให้บาดมือ และให้สามารถ กลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบใน การขับเสภา ผู้กล่าวขับคนหนึ่ง จะต้องใช้กรับ จำนวนสองคู่ กล่าวขับไปพลาง มือทั้งสองแต่ละข้าง ก็ขยับกรับ ให้กระทบ เข้าจังหวะกับเสียงกรับไปพลาง ภายหลัง นิยมใช้ตีประกอบจังหวะ ในวงดนตรีไทย ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย

 

 

 

 

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/02.jpg 

    ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า 
ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง 
และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า “ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า “ผืน” ลูกระนาดนี้ทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด 
ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น 
เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า “โขน” ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 
39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด 
มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง 
รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า

 ระนาดทุ้ม เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเลียนแบบระนาดเอก ลูกระนาดทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับระนาดเอก แต่เหลาลูกระนาดให้มีขนาดกว้าง และยาวกว่าลูกระนาดเอก ประดิษฐ์วางให้มีรูปร่างแตกต่างจากรางระนาดเอก คือมีรูปคล้ายหีบไม้ แต่โค้งด้านบน มีโขนปิดด้านหัวและท้าย มีเท้าเตี้ย ๆ รอง 4 มุมราง ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 - 18 ลูก มีเสียงทุ้มต่ำกว่าระนาดเอก จึงเรียกว่า "ระนาดทุ้ม" ใช้เป็นเครื่องบรรเลงทำนองเพลงแบบหยอกล้อ ล้วง และขัดจังหวะไม้ตีระนาดทุ้ม ใช้ไม้ชนิดเดียว คือ ไม้นวม

 

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/03.jpg


เครื่องตีทำด้วยโลหะ 

  • ฉิ่ง เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะประเภทเครื่องกำกับจังหวะ รูปร่างคล้ายถ้วยชาไม่มีก้น เว้ากลาง ปากผายกลม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อความสะดวกในการถือตีกระทบกัน เมื่อต้องการตีเสียง "ฉิ่ง" ก็เอาขอบของฝาหนึ่งกระทบเข้ากับขอบอีกฝาหนึ่ง เมื่อต้องการตีเสียง "ฉับ" ก็เอาทั้งสองฝาตีประกบกัน ฉิ่งนับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยาก เพราะผู้เล่นจะต้องมีความสามารถในเรื่องจังหวะ และรู้อัตราจังหวะของเพลงที่บรรเลงเป็นอย่างดี

  • ฉาบ รูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่หล่อบางกว่าฉิ่ง มีขนาดใหญ่กว่า และกว้างกว่า ตอนกลางมีปุ่มกลมทำเป็นกระทุ้ง ขอบนอกแบนราบออกไปโดยรอบ เจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเส้นเชือก หรือเส้นหนังสำหรับถือ มี 2 ขนาด คือ ฉาบใหญ่ตีตรงจังหวะ และฉาบเล็กตีขัดจังหวะ

 

 

·  ฆ้องโหม่ง เป็นฆ้องที่มีหน้ากว้าง วันผ่าศูนย์กลางราว 30 - 45 ซม. เมื่อตีได้เสียงดัง "โหม่ง - โหม่ง" จึงเรียกชื่อตามเสียงว่า ฆ้องโหม่ง เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่มีคู่มากับกลอง เดิมใช้ตีบอกเวลากลางวัน จึงเรียกเวลากลางวันว่า "โมง" ติดปากมาทุกวันนี้ ฆ้องโหม่ง ใช้ตีเป็นจังหวะในการบรรเลงดนตรี

·  ฆ้องราว เป็นฆ้อง 3 ใบ มีขนาดลดหลั่นกัน ใช้แขวนราวเรียงไปตามขนาด เมื่อตีตีเรียงไปตามลำดับแล้วย้อนกลับ จะได้ยินเสียง (เสียงตีฆ้อง) โหม่ง -โม่ง - โม้ง - โมง - โหม่ง เคยใช้บรรเลงในการเล่นมหรสพโบราณ ชื่อ "ระเบง" หรือโอละพ่อ ในงานพระราชพิธี บางครั้งจึงเรียกว่า "ฆ้องระเบง

ฆ้องวงใหญ่

 

·  ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงใหญ่ใช้ต้นหวายดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัว คนนั่นตีเรียกว่า "ร้าน" เปิดช่องไว้สำหรับเป็นทางเข้าด้านหลังคนตี ลูกฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูกขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับ ตั้งแต่เสียงต่ำไปหาเสียงสูง ฆ้องวงใหญ่ใช้บรรเลงทำนองหลักของเพลง ผู้ที่จะหัดปี่พาทย์ควรเริ่มหัดตีฆ้องวงใหญ่ก่อน เพื่อจะได้เป็นรากฐานทางดนตรีที่มั่นคง 

·  ฆ้องวงเล็ก สำหรับฆ้องวงเล็ก สร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 3 โดยมีลักษณะเหมือนฆ้องวงใหญ่ทุกอย่าง แต่มีขนาดย่อมกว่า และมีลูกฆ้องมากกว่า คือ 18 ลูก ใช้บรรเลงเก็บเช่นเดียวกับระนาดเอก

ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้ง 2 ข้าง ไม่วางลงราบไปกับพื้น เหมือนฆ้องไทย ฆ้องมอญวงหนึ่งมีจำนวน 15 ลูก ร้านฆ้องวงมักประดิษฐ์แต่งกันอย่างสวยงาม เช่น แกะสลักเป็นลวดลาย ปิดทองประดับกระจก ฆ้องมอญใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ ฆ้องมอญมี 2 ชนิด เช่นเดียวกับฆ้องวงของไทย คือ ฆ้องมอญวงใหญ่ และฆ้องมอญวงเล็ก

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/04.jpg

 

 

ระนาดเอกเหล็ก

·  เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เดิมเรียกระนาดทอง เพราะเมื่อประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ใช้ทองเหลืองทำลูกระนาด ปัจจุบันนิยมใช้เหล็ก หรือสแตนเลสทำลูกระนาด ใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพัน หรือใช้ไม้ระกำวางพาดไปตามขอบราง สำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทนการร้อยเชือก เนื่องจากมีน้ำหนักมาก รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนึ้นทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีวิธีการบรรเลงเช่นเดียวกับระนาดเอกไม้

 

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/06.jpg



 เครื่องตีขึงด้วยหนัง

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/07.jpg

 

  กลองแขกเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรง กระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ 
กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า “หน้ารุ่ย” ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า“หน้าด่าน” ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น 
เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริดการขึ้นหนังใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยง เร่งเสียง โยงเส้นห่างๆในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่อง 
จากหาหวายได้ยาก กลองแขกสำหรับหนึ่งมี 2 ลูกลูกเสียง สูงเรียก “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียก “ตัวเมีย” 
ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก

 

·  กลองชาตรี มีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับกลองทัดทุกอย่าง แต่ขนาดเล็กกว่ามาก เรียกอีกอย่างหนึ่งตามเสียงดังว่า "กลองตุ๊ก" ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละครชาตรี จึงเรียกว่า กลองชาตรี และใช้ตีประกอบเพลงชุด "ออกภาษา" ในเพลงสำเนียงภาษาจีนและตะลุง

·  ตะโพน ตัวตะโพนทำด้วยไม้สัก หรือไม้ขนุน เรียกว่า "หุ่น" ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงที่เรียกว่า "หนังเรียด" หน้าหนึ่งใหญ่ เรียก "หน้าเท่ง" ใช้ติดข้าวสุกบดผสมขี้เถาเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กเรียก "หน้ามัด" ตรงรอยขอบหนังขึ้นหน้าถักด้วยหนังตีเกลียวเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ไส้ละมาน" แล้วขึงเอาหนังเรียดร้อยในช่องของไส้ละมานทั้ง 2 หน้า โยงเรียงไปโดยรอบจนไม่เห็น "ไม้หุ่น" มีหนังพันตอนกลางเรียกว่า "รัดอก" ตรงรัดอกข้างบนทำเป็นหูหิ้ว ตะโพนใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ

 

 

 

·  ตะโพนมอญ มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับตะโพนไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่า กล่าวคือ ตะโพนไทยรูปร่างป่องกลาง ส่วนตะโพนมอญรูปร่างใหญ่ด้านหนึ่ง และเรียวเล็กลงอีกด้านหนึ่ง ใช้ตีคู่กับเปิงมางคอกในวงปี่พาทย์มอญ

  

·  โทนชาตรี ทำด้วยไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ขนุน หรือ ไม้กระท้อน สายโยงเร่งเสียงใช้หนังเรียด ใช้ตีประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรีที่เล่นเพลงภาษาเขมร หรือตะลุง กับใช้ตีคู่กับกลองชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรีและมโนราห์ 

·  โทนมโหรี ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึ้นหนังโตกว่าโทนชาตรี สายโยงเร่งเสียงใช้ต้นหวายผ่าเหลาเป็นเส้นเล็ก หรือใช้ไหมฟั่นเป็นเกลียว หนังที่ขึ้นหน้าใช้หนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หรือหนังงูงวงช้าง ใช้บรรเลงในวงเครื่องสายและวงมโหรี จึงเรียกว่า โทนมโหรี โทนมโหรีใช้ลูกเดียวแต่ตีสอดสลับคู่กับรำมะนา ซึ่งเป็นกลองขึงหน้าเดียวเช่นกัน รำมะนามโหรีมีขนาดเล็ก หนังที่ขึงตรึงด้วยหมุดโดย

 

 

  • กลองทัด ตัวกลองทำด้วยไม้แก่น เนื้อแน่นแข็ง ใช้กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ตรงกลางป่องออกนิดหน่อย ขึ้นหน้าทั้ง 2 ข้าง ด้วยหนังวัวหรือหนังควายตรึงด้วยหมุด ซึ่งเรียกว่า "แส้" ทำด้วยไม้ หรืองา หรือกระดูกสัตว์ หรือโลหะ ตรงกลางหุ่นกลองด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับแขวน เรียกกันว่า "หูระวิง" เวลาใช้บรรเลงตีเพียงหน้าเดียว หน้าหนึ่งติดข้าวสุกผสมกับขี้เถ้าปิดตรงใจกลาง แล้ววางกลองทางด้านนั้นคว่ำตะแคงขอบไว้บนหมอนหนุน มีขาหยั่งสอดค้ำตรงหูระวิง ใช้ตีด้วยท่อนไม้ 2 อัน กลองทัด นิยมใช้ 2 ลูก ลูกหนึ่งเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ตีเสียงดัง "ตูม" อีกลูกหนึ่งเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" ตีเสียงดัง "ต้อม"

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/08.jpg

 

·  ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดคงทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก แต่ทำเขื่องกว่า เป็นเสียงทุ้มเลียนอย่างระนาดทุ้ม มีจำนวน 16 - 17 ลูก วิธีบรรเลงเช่นเดียวกับระนาด

 

 

คำอธิบาย: http://prathom.swu.ac.th/485204/images/thai_instrument/09.jpg

ขลุ่ยเพียงออ

ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้อย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ 
ใหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหน้าเจาะรูกลมๆเรียงแถวกัน 7 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ แต่เขาใช้ไม้อุด 
เต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า “ดาก” ทำด้วยสไม้สักเพราะไม่มีขุยมาบังลม ด้านหลังใต้ดากลงมา 
เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า 
“รูปากนกแก้ว” ใต้รูปากนกแก้วลงมา เจาะรูอีก 1 รู เรียกว่า “รูนิ้วค้ำ” เพราะเวลาเป่า ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ เหนือรูนิ้วค้ำด้าน 
หลัง และเหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้งเจ็ดรู แต่อยู่ทางด้านขวา เจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า “รูเยื่อ” เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้ 
ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูให้ซ้ายขวา ตรงกันเพื่อร้อยเชื่อก เรียกว่า “รูร้อยเชือก” ดังนั้น จะสังเกตุว่า 
ขลุ่ย 1 เลา จะมีรูทั้งสิ้น 14 รู ขลุ่ยมีทั้งหมด 3 ชนิดคือ

(1) ขลุ่ยหลีบ มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 36 ซม กว้างประมาณ 2 ซม

(2) ขลุ่ยเพียงออ มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 45 – 46 ซม กว้างประมาณ 4 ซม

(3) ขลุ่ยอู้ มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 60 ซม กว้างประมาณ 4 – 5 ซม

ต่อมามีผู้สร้างขลุ่ยกรวดขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 1 เสียง ขลุ่ยกรวดใช้กับวงเครื่องสายผสมที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่ง มาเล่นร่วมวง

 

Free Web Hosting