ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

 

 คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/o03.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

ขนาดและสัดส่วนของพิณ ::.

 

 

 

           เต้าพิณ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว ตามยาวจากกล่องเสียงหรือเต้าพิณถึงหย่อง 14 นิ้ว หรือจากหย่องสุดท้ายพาดสายไปถึงหย่องหน้าประมาณ 22 นิ้ว เจาะร่องสำหรับใส่ลูกบิดประมาณ 3 นิ้ว ขั้น(เฟรทมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวเกินไป ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกหัดใหม่สามารถกดนิ้วได้สะดวก

 

 

ส่วนประกอบของพิณ
คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pin2.h1.jpg
 

 

 

1.    ลูกบิด ปัจจุบันลูกบิดที่ใช้มีอยู่ 2 ชนิด คือ
                1.1 ลูกบิดไม้ มีลักษณะคล้ายกับลูกบิดซอด้วง ซออู้ ในเครื่องดนตรีไทย
                1.2 ลูกบิดกีต้าร์ ใช้ลูกบิดกีต้าร์แทนเพื่อความคงทน และสะดวกในการใช้งาน
2.    สายพิณ ในอดีตใช้สายเบรครถจักรยานเส้นเล็กๆ แต่สายพิณ ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีต้าร์ไฟฟ้า 
3.    คอนแทรกไฟฟ้า ในกรณีที่พิณเป็นพิณไฟฟ้า คอนแทรก (contact) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก 
       เพราะเปรียบเสมือนไมโครโฟน
4.    หย่องพิณ นิยมใช้หย่องที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง 
5.    ขั้นพิณ (fret) ใช้ติวไม้ไผ่ติดที่คอพิณ หรือ ลวดทองเหลือง ติด

 

 

เทคนิคการดีดพิณ ::.

 

 

1.  ให้จับคอพิณเหมือนกีต้าร์ ให้มือซ้ายจับคอพิณ หัวแม่มืออยู่หลังคอพิณ นิ้วทั้ง 4 อยู่ด้านหน้าคอพิณ
      พร้อมที่จะกดลงที่ ขั้นพิณ ตามเสียงที่ต้องการ
2.   จับปิคดีดทุกครั้ง
3.   ให้ดีดสายเปล่าสลับขึ้นลง อย่าให้ขาดจังหวะ ทีละครั้ง
4.   ให้ดีดสายเปล่า ในลักษณะกรอ หรือ รัว นานๆ
5.   ให้ดีดสายเปล่าพร้อมกับกดขั้นพิณ ในลักษณะการสบัดเสียง 
6.   ใช้นิ้วกดขั้นพิณต่างๆตามเสียงที่ต้องการ
7.   ฝึกบรรเลงพื้นฐาน หรือเพลงช้าๆ ก่อน เช่น ลายโปงลาง เต้ย 3 จังหวะ ฯลฯ

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pin3.h2.jpg

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/o09.jpg

 

 

.:: การตั้งลายพิณ ::.

 

 

                ลายพิณ หมายถึง กลอนของพิณ หรือเพลง เช่น ลายลำเพลิน ลายสุดสะแนน ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น  ลักษณะการตั้งลายพิณนั้นสามารถตั้งได้หลายวิธีตามโอกาสที่จะนำไปใช้บรรเลงของแต่ละคน สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

 

 

1. การตั้งลายพิณแบบลายลำเพลิน
                การตั้งสายพิณแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากเพราะสามารถบรรเลงได้ง่าย เสียงทุ้มให้ความสนุกสนาน เสียงที่ตั้งสามารถตั้งได้ดังนี้
               สายที่ 1 เป็นเสียง มี 
               สายที่ 2 เป็นเสียง ลา
               สายที่ 3 เป็นเสียง มี (ต่ำ)

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pin4.h4.gif

 

 

 

2. การตั้งลายพิณแบบเซิ้ง
             
การตั้งลายพิณแบบนี้จะเล่นยาก และสามารถเล่นได้ทั้งลายลำเพลินและเพลงรวมทั้งการจับคอร์ดพิณได้ เสียงที่ตั้งสามารถตั้งได้ดังนี้
               สายที่ 1 เป็นเสียง เร
               สายที่ 2 เป็นเสียง ลา
               สายที่ 3 เป็นเสียง มี (ต่ำ)

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pin4.h6.gif

 

 

 

3. การตั้งลายพิณแบบสายคู่
                การตั้งสายพิณแบบนี้ ให้เสียง 2 เสียงเหมือนกัน สามารถตั้งสายได้ดังนี้
               สายที่ 1 เป็นเสียง เร
               สายที่ 2 เป็นเสียง เร
               สายที่ 3 เป็นเสียง มี  

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pin4.h7.gif

 

 

 

4. การตั้งลายพิณแบบสุดสะแนน
             สามารถตั้งสายพิณได้ดังนี้
               สายที่ 1 เป็นเสียง เร
               สายที่ 2 เป็นเสียง ที
               สายที่เป็นเสียง มี (ต่ำ)

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pin4.h8.gif

 

 

 

 

                                                                                    คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/o05.jpg

 

 

 

 

 

 

                                                                                          ส่วนประกอบของโปงลาง

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/ponglang.jpg

 

เทคนิคการตีโปงลาง ::.

 

 

การตีโปงลางจะนั่งกับพื้นหรือยืน ในท่าที่ถนัด โดยจะอยู่ด้านซ้ายของโปงลาง ดังนี้
     1. จับไม้ตีโปงลางให้แน่น
     2. ฝึกไล่เสียงจากจากเสียงต่ำ ไปหาเสียงสูง และจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ ในลักษณะสลับมือซ้าย-ขวา
     3. ฝีกตีกรอ รัว สะบัด
     4. ฝีกบรรเลงลายที่ง่ายๆ เช่น ลายโปงลาง เต้ย ลายภูไท เป็นต้น

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/T1.jpg

 

 

ลักษณะเสียงโปงลาง

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/T2.jpg

 

การเคาะโปงลาง

 

โปงลางเป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เวลาเคาะจึงมีเสียงแกร่งสั้น และห้วน ถ้าเราเคาะโน้ต 1 หรือ 2 จังหวะ จะได้เสียงไม่ไพเราะ เพราะเสียงนั้นไม่มีกังวาล ผู้ฝึกหัดจึงสมควรที่จะฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
          1.       ฝึกเคาะรัวถี่แทนตัวโน้ต หรือซอยโน้ตให้ย่อยออกเป็นตัวเขบ็จ 1 ชั้น 2 ชั้น เป็นต้น
          2.       ผู้ฝึกจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องฝึกเคาะจังหวะตามทำนองหลักให้ตนเองได้ยินจนแม่นยำก่อน แล้ว
                    จึงฝึกซอยโน้ตทีหลัง 
          3.      โดยทั่วไป ผู้เคาะโปงลางมีอยู่ 2 คน ผู้ที่เล่นทำนองนั้นจะเรียกว่า “หมอเคาะ” ส่วนอีกคนหนึ่ง
                   จะเล่นเสียงประสาน เรียกว่า “ หมอเสิบ”  หมอเสิบนั้นเป็นผู้ช่วยทำจังหวะและทำเสียงทุ้ม
          การเคาะลูกโปงลาง อย่าเคาะตรงลงไปหนักๆตรงๆ จะทำให้เสียงกระด้าง ให้เคาะอย่างนิ่มนวล หรือเคาะแฉลบออกอย่างสม่ำเสมอ

 

แคน

เป็นเครื่องเป่า ทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไปตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริงมาถากเจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า "เต้า") เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้งพอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 - 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 - 3 ซม. สำหรับนิ้วหัวแม่มือปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเดี่ยวคลอการร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลาง กลอง ฯลฯ ประกอบการแสดงพื้นบ้านภาคอีสานต่าง ๆ 

 

 คำอธิบาย: http://www.igetweb.com/www/krupeak/private_folder/o04.jpg

  

ประเภทของแคน ::.

 

 

                 แคนเป็นเครื่องดนตรีประเภทใช้ปากเป่าดูดลมเข้า-ออก ทำมาจากไม้กู่แคนหรือไม้ซาง ตระกูลไม้ไผ่ มีมากในเทือกเขาภูพวน แถบจังหวัดร้อยเอ็ด นครพนม ฝั่งประเทศลาวและภาคเหนือของไทย ลักษณะนามการเรียกชื่อแคนว่า “เต้า”
แคนแบ่งตามรูปร่างและลักษณะการบรรเลงสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 ชนิด คือ

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/kan4.jpg

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/kan.jpg

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/kan2.jpg

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/kan3.jpg

 

   

.:: ส่วนประกอบของแคน ::.

 

 

     1. ไม้กู่แคน
     2. ไม้เต้าแคน
     3. หลาบโลหะ (ลิ้นแคน)
     4. ขี้สูท
     5. เครือย่านาง

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/kan3.h1.jpg



 

 

.:: เทคนิคการเป่าแคน ::.

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/pu.jpg
การเป่าแคนจะนั่งเป่าหรือยืนเป่าก็ได้ โดยมีวิธีการเป่าแคนดังนี้
          1. จับแคนโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับที่เต้าแคน ให้แน่น ในอุ้งมือ
          2. ใช้นิ้วทั้ง 5 ปิดรูเสียงตามที่ต้องการ
          3. ใช้ปากเป่า โดยใช้ลมเข้า-ออก ตามเสียงที่ต้องการ
          4. ขยับนิ้วตามเสียงที่ต้องการ

 

 

    โน้ตแคน

มือซ้ายลูกที่

มือขวาลูกที่

ระดับเสียงที่ได้

1

2

โด

3

6

เร

4

7

มี

5-7

-

ฟา

6

3

ซอล

-

1-4

ลา

2

5

ที


    การใช้นิ้วปิดรูเสียงแคน
    โน้ตแคน

นิ้วมือซ้าย

ลูกที่

ระดับเสียงที่ได้

หัวแม่มือ

1

โด

ชี้

2-3

ที-เร

กลาง

4-5

มี-ฟา

นาง

6-7

ซอล-ฟา

ก้อย

8

เสพซ้าย


     การใช้นิ้วปิดรูเสียงแคน
     โน้ตแคน
               

นิ้วมือซ้าย

ลูกที่

ระดับเสียงที่ได้

หัวแม่มือ

1

ลา

ชี้

2-3

โด-ซอล

กลาง

4-5

ลา-ที

นาง

6-7

เร-มี

ก้อย

8

เสพขวา

 

 

 

     ลักษณะการวางนิ้วแคนแปด

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/kan4.h2.gif

 

 

 

 

·  โหวด

·  เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาวต่างกัน จำนวน 6 - 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติด แต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5 เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่นเพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบอิสาน  

.:: ตำนานโหวด ::.

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/o07.jpg
             โหวดเป็นเครื่องดนตรีของชาวอีสาน หรือ ของเล่นชนิดหนึ่งของชาวอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือนธนู ต่อมาโหวดได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน โหวดเกิดขึ้นในสมัยใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้แน่นอนหรือยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่าเป็นนิยายปรัมปรา สืบต่อกันมา ดังนี้
            ในสมัยก่อนพุทธกาล มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองพันทุมาลัย เมืองนั้นมีพระโพธิสัตว์ เสวยชาติมาเป็นพระยาคางคก สมัยก่อนมีความเชื่อเรื่องพระยาแถน เรื่องฝน ฟ้า อากาศ เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปบนบานศาลกล่าวต่อพระยาแถน แต่พอมีพระยาคางคก ก็ทำให้คนและสัตย์หันไปนับถือพระยาคางคก ทำให้พระยาแถนไม่พอใจ ฝนฟ้าที่เคยตกต้องตามฤดูกาล ก็ทำให้เมืองนี้แห้งแล้งเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน คนและสัตย์รวมทั้งพืชพันธ์ธัญญาหารล้มตาย ทำให้มวลมนุษย์และสัตย์เดือดร้อนก็เลยทำสงครามกับพระยาแถน แต่มนุษย์ก็ไม่ชนะสักที จึงมาปรึกษากับพระยาคางคก พระยาคางคกก็รับอาสาจะไปสู้กับพระยาแถน พระยาคางคกก็นำทัพไปรบกับพระยาแถน แต่งตั้งให้พระยาปลวกทำสะพานดินเป็นถนนขึ้นสู่เมืองพระยาแถน ให้พระยามดขึ้นไปสู่เมืองพระยาแถนก่อนเพื่อไปเจาะดาบอาวุธยุทธโธปกรณ์ ให้จวนจะหัก และพระยาตะขาบ แมงป่อง อสรพิษทั้งหลายไปดักอยู่ตามเสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทหารพระยาแถนใช้      พอถึงวันแรม 7 ค่ำ พระยาคางคกก็นำทัพขึ้นไปเจรจาขอฝนกับพระยาแถน พระยาแถนก็โกรธและไม่ประธานฝนให้ แล้วก็ประกาศสงครามกัน แผนต่างๆ ที่พระยาคางคก วางเอาไว้ก็เริ่มปฏิบัติการ ตะขาบ แมงป่อง ก็ออกมากัดทหารให้ล้มตาย   ส่วนพระยาคางคกกับพระยาแถนก็ต่อสู้กันบนหลังช้าง สู้กันไปกันมา พระยาแถนใช้ดาบฟันพระยาคางคก ดาบก็หัก จะใช้ตะขอเกี่ยว ตะขอก็หัก ในที่สุดพระยาคางคกได้จังหวะ ก็ใช้บ่วงศ์ (บ่วงนาคบาศก์ดับพระยาแถนได้จนตกจากหลังช้าง พระยาแถนจึงยอมตกลงตามสัญญา โดยมีเงื่อนไขกันอยู่ 3 ประการ คือ
              ประการที่ 1  ให้พระยาแถน ประทานน้ำฝนให้เหมือนเดิม ถึงเดือนหก ถ้าฝนไม่ตกมนุษย์จะทำบั้งไฟ จุดขึ้นไปเป็นการบอกกล่าว เตือนพระยาแถนให้ประทานฝนลงมาให้มนุษย์
               ประการที่ 2   การได้ยินเสียง กบ อึ่งอ่าง เขียดร้อง แสดงว่ามนุษย์ได้รับน้ำฝนแล้ว
            ประการที่ 3  เมื่อใดที่ได้ฝนเพียงพอแล้วก็จะแกว่งโหวดขึ้นสู่ท้องฟ้าให้เกิดเสียงดังเป็นสัญญาณ ให้พระยาแถนทราบว่าได้รับน้ำฝนเพยงพอแล้วเพื่อให้ลดปริมาณฝนลง หรือให้ฝนหยุด
ปัจจุบันนี้โหวดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมาก และเป็นเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงเข้ากับเครื่องดนตรีอีสานได้ เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง และเกิดเป็นวงดนตรีพื้นเมืองอีสานดังปรากฏในปัจจุบันนี้

 

ส่วนประกอบของโหวด ::.

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/v01.jpg
 

 

 

        1.   ลูกโหวด ทำมาจากไม้ไผ่เฮี้ย มีลักษณะผิวบาง 
2.  ขี้สูท ใช้สำหรับติดลูกโหวด
3. ไม้แกนโหวด ทำจากไม้ไผ่ใช้สำหรับติดยึดลูกโหวด

 

 

 เทคนิคการเป่าโหวด ::.

 

 

เทคนิคการเป่าโหวดมีดังนี้
       1. ใช้มือซ้ายหรือมือขวาจับโหวด โดยให้หัวแม่มืออยู่ที่ลูกที่ 1ลูกใหญ่ นิ้วชี้อยู่ในลูกที่ 4 
       2.  นำหัว (ตรงขี้สูทมาเป่า โดยเป่าลมออกให้เกิดเสียง และให้ขยับหาเสียงที่ชัดมาที่สุด
       3.  ฝึกเป่าโดยการไล่เสียงจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำหรือ จากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง
       4.  ฝึกเป่าลมออกให้ยาวๆ 
       5.  ฝีกเป่าลายง่ายๆ เช่น ลายโปงลาง เต้น เป็นต้น

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/V02.jpg

 

 

 

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/V03.jpg
 

 

 

·  จ้องหน่อง หึน หรือหุน เป็นเครื่องดีด ทำด้วยไม้ไผ่เหลาบาง ๆ ยาว 12 - 15 ซม. กว้าง 11/2 ซม. หนา 1/2 ซม. ตรงกลางเซาะร่องเป็นลิ้นในตัว ปลายด้านหนึ่งสำหรับจับ อีกด้านหนึ่งใช้ดีดด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ เวลาเล่นประกบลิ้นจ้องหน่องเข้ากับปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้มใช้เป็นกล่องเสียง สามารถทำเสียงได้ 2 - 3 เสียงเท่านั้น ดีดเป็นทำนองได้เล็กน้อย เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้เล่นกันมาแต่โบราณ โดยมากใช้เล่นคนเดียวยามว่าง เป็นที่นิยมกันทางแถบอีกสานเหนือ

·  พิณไห เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ทำด้วยไหซอง หรือไหกระเทียม ใช้ยางเส้นหนา ๆ ขึงที่ปากไห เวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเกิดเสียงสูง - ต่ำ อย่างไรขึ้นอยู่กับขนาดของไห และการขึงเส้นยางให้ตึงหย่อนต่างกัน พิณไหใช้เล่นประกอบจังหวะในวงโปงลาง แคน พิณ ปกติชุดหนึ่งมี 2 - 3 ลูก หรืออาจมากกว่าก็ได้ โดยมากมักให้หญิงสาวแต่งตัวพื้นเมืองสวยงาม ยืนเล่นด้วยลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะ เป็นที่สะดุดตาในวง

คำอธิบาย: http://www.igetweb.com/www/krupeak/private_folder/hisong.jpg

 

·  ซอกระดองเต่า หรือซอเขาควาย เป็นเครื่องสี กระโหลกซอทำด้วยกระดองเต่าตัดส่วนหน้าออก หรือทำด้วยเขาควายตัดขนาดตามต้องการ แล้วขึงด้วยหนังงู คันซอทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 40 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึงสาย 2 อัน สายซอเป็นสายลวด คันชักอยู่ระหว่างสายซอทั้ง 2 สาย ซอชนิดนี้เป็นที่นิยมในแถบอีสานใต้ ชาวบ้านทำเล่นกันมานานแล้ว ใช้บรรเลงเยวในวงกันตรึม และบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้

·  ซอบั้ง เป็นซอของชาวภูไท ทำจากกระบอกไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง (ชาวบ้านเรียกไม้โกะ) โดยใช้กระบอกไม้ไผ่ชิ้นเดียวกัน เป็นทั้งกะโหลกซอ และคันซอ ไปในตัว โดยช่างทำซอจะเหลากระบอกให้บาง ทำหน้าที่คล้ายหนังหุ้มกะโหลกซอ ซอบั้งมี 2 สาย เป็นสายลวด คันชักอยู่นอกสาย เวลาสีต้องสีให้ถูกสายทั้ง 2 สายตลอดเวลา เพื่อให้ได้เสียงที่เป็นทำนอง และเสียงประสานควบคู่กันไป ซอชนิดนี้นิยมใช้สีประสานเสียงกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบการฟ้อนภูไท

·  ซอปี๊บ เป็นซอ 2 สาย เป็นสายลวด กะโหลกทำจากปี๊บน้ำมันก๊าด หรือปี๊บขนม คันชักอาจจะอยู่ระหว่างสายทั้งสอง หรืออยู่ข้างนอกก็ได้ แต่ส่วนมากนิยมให้คันชักอยู่ข้างนอก ซอปี๊บใช้สีเดี่ยว หรือสีคลอเสียงหมอลำ

·  ซอกระป๋อง เป็นซอ 2 สายเช่นเดียวกับซอปี๊บ เพียงแต่กระโหลกทำด้วยกระป๋อง และคันชักอยู่ระหว่างสายทั้งสอง นิยมใช้สีประกอบการขับร้อง หรือสีเพลงลายพื้นเมืองของแคน

 

.:: ประวัติความเป็นมาของลาย::.

 

 

รำบายศรี

                เป็นการรำที่ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ  เมื่อมีแขกมาเยือน  ส่วนใหญ่จะประกอบเพื่อเป็นสิริมงคงในพิธีจะมีพานบายศรีและพราหมณ์ผู้ทำพิธี  เนื้อร้องก็จะอธิบายถึงความสวยงาม ของบายศรี  และเป็นการเรียกขวัญ พอรำเสร็จก็จะมีการผูกข้อมือแขกด้วยฝ้ายขาว  ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้วถือว่าฝ้ายที่ใช้ผูกนั้นจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

รำโคตรบูรณ์

                ศรีโคตรบูรณ์  เป็นอาณาจักรหนึ่งของชาวอีสาน ในสมัยโบราณซึ่งมีศูนย์กลางในจังหวัดสกลนครและนครพนม เป็นการร่ายรำที่นิ่มนวลมาก  ซึ่งจัดว่าเป็นการรำโบราณคดีของภาคอีสานและท่ารำแต่ละท่าจะมีลีลาเฉพาะตัว ไม่ซ้ำแบบใคร 

เซิ้งทำนา

                เป็นการแสดงถึงขั้นตอนการทำนา  โดยเริ่มตั้งแต่การไถนา  หว่านกล้า ถอนต้นกล้า ปักดำเกี่ยวข้าว การนวดข้าว  และจนกระทั่งสุดท้ายการเก็บข้างใส่ยุ้งฉาง  ผู้แสดงประกอบไปด้วยชายหญิง

รำภูไทยเรณู

                เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวภูไท  ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวเรณูนคร  จังหวัดนครพนม  เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือน  ก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญ  และมีการรื่นเริงแสดงดนตรีตลอด จนมีการละเล่นระบำรำฟ้อนอย่างสนุกสนาน  โดยเฉพาะหนุ่มสาวออกมาฟ้อนรำเกี้ยวพาราสีกัน  และจังหวะดนตรีจะมีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์  ส่วนท่ารำของหญิงจะอ่อนช้อยสวยงาม ส่วนท่ารำของผู้ชาย จะแสดงออกถึงความแข็งแกร่งสนุกสนาน

รำดึงครกดึงสาก

                รำดึงครกดึงสาก  จัดว่าเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ที่กระทำเพื่อขอฝน  โดยมีครก มีสากที่ใช้สำหรับตำข้าว  เป็นอุปกรณ์สำคัญ โดยมีขั้นตอน คือ

                นำครกและสาก  ผูกด้วยเชือกอย่างละเส้น แบ่งผู้ดึงให้เท่ากัน  จับปลายเชือกคนละด้าน  ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าฝนจะตกให้ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ  ถ้าฝนไม่ตก  ก็ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งชนะ  ส่วนท่ารำนั้น  ก็ปรับปรุงตามแบบท่ารำแม่ท่าของชาวอีสาน  ให้ผสมผสานกับท่าที่เป็นไปตามธรรมชาติทำนองเพลงมีการปรับเพื่อให้เกิดความกลมกลืนและเหมาะสมในรูปแบบของศิลปะ

เซิ้งกะโป๋

                เป็นการละเล่นของชาวอีสานใต้แถบ จังหวัดศรีษะเกษ  บุรีรัมย์ สุรินทร์ เป็นต้น    คำว่า  กะโป๋  หมายถึง กะลามะพร้าว  ที่เอาส่วนของเปลือกออกหมดแล้ว  นำมาถือคนละ  2  ชิ้น แล้วก็ร่ายรำประกอบการเต้นเข้าจังหวะและนำกะลาของตนไปกระทบกับคู่เต้นขงตนเองและของคนอื่น สลับกันไป รำกะโป๋นี้เป็นแสดงออกถึงการรำที่เน้นสายตา  คอ ไหล่ สะโพก  และเท้าของผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสนใจของฝ่ายตรงกันข้าม

เซิ้งครกมอง

                ครกมองเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตำข้าวของชาวอีสาน  ที่มีความเจริญน้อยหรือที่เรียกว่าชนบท  ลักษณะของครกมอง มีขนาดใหญ่ ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีไม้ยาว ๆ สำหรับตำข้าว  หรือเรียกว่าสาก  ท่ารำจะประดิษฐ์ท่ารำในลีลาอ่อนช้อยและงดงามและมีการพูดผญา  เกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนาน

รำเข็ญฝ้าย

                เป็นการรำที่นำมาประยุกต์ท่ารำ  ซึ่งแสดงถึงการประกอบอาชีพในการทอผ้าของชาวบ้าน โดยท่ารำจะออกมาในลักษณะวิธีการทอผ้า  โดยเริ่มตั้งแต่การออกไปเก็บฝ้าย ตากฝ้าย ดีดฝ้าย และทอผ้า

รำไทภูเขา

                เป็นการรำของชาวภูไทกลุ่มหนึ่ง  ที่อาศัยอยู่ตามภูเขา ในแถบเทือกเขาภูพาน  การรำจะแสดงให้เห็นถึงการที่ชาวภูไท  ได้เดินขึ้นภูเขาเพื่อไปหาของป่า เช่น หน่อไม้  ผักหวาน ใบย่านาง เก็บเห็ด  ตัดหวาย  ที่มีอยู่ตามภูเขาเพื่อนำมาประกอบอาหาร

รำดังหวาย

                เป็นการรำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  หรือการเพื่อขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ตนเคารพนับถือ ครั้งก่อนเรียกว่า รำถวาย และในปัจจุบันเรียกว่า รำตังหวาย  ท่ารำก็จะมีท่าที่เป็นแม่แบบที่มีความสวยงามตามแบบชาวอีสาน

เซิ้งเซียงข้อง

                เป็นการสะท้อนให้เห็นในเรื่องของพิธีกรรม ศาสนา ความเชื่อของชาวอีสาน  ในการแสดงจะมีการบูชาเชิญเทวดาให้สิงอยู่ในข้อง เพื่อขับไล่ผี เมื่อเทวดามาสิงแล้ว  ข้องนั้นจะสั่นหรือกระตุกเซียงข้องจะนำคนไปยังสถานที่มีผีอยู่ และจะจับหรือไล่ผีให้ออกไปจากหมู่บ้าน  จากนั้นชาวบ้านก็จะอยู่เย็นเป็นสุข

เซิ้งแหย่ไข่มดแดง

                ไข่มดแดง  เป็นอาหารประจำท้องถิ่นของชาวอีสาน  ที่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทาน เช่น ก้อยไข่มดแดง ยำไข่มดแดง  เป็นต้น การแหย่ไข่มดแดงนั้นค่อนข้างลำบากเนื่องจากรับมดแดงนั้นอยู่สูง ดังนั้นจึงต้องใช้ไม้ยาว ๆ ผูกติดกับตะกร้า  แล้วนำไปแหย่  ดังนั้นการแสดงชุดนี้จึงเป็นการแสดงที่ต้องการ ถ่ายทอดลีลาการแหย่ไข่มดแดงประกอบเพลงพื้นบ้าน ในทำนองจังหวะเซิ้ง ได้อย่างสนุกสนาน

รำภูไท 3  เผ่า

                ชาวผู้ไท เป็นกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย  แล้วชาวผู้ไทชอบตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้  กับภูเขาเพื่อการทำมาหากินจะเป็นไปโดยเรียบง่าย  การแสดงชุดนี้จะแสดงถึงชาวผู้ไทที่อยู่ในภาคอีสาน ซึ่งจะแสดงถึงเอกลักษณ์และประเพณีในแต่ละเผ่า คือ

                เผ่าที่ 1 เผ่าสกลนคร ใช้ลายภูไท

                เผ่าที่ 2 เผ่ากาฬสินธุ์ ใช้ลายภูไทเลาตูบ

                เผ่าที่ 3 เผ่านครพนม ใช้ลายภูไทเรณู (ลมพัดพร้าว)

รำมวยโบราณ

                มวยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นการต่อสู้ด้วยพละกำลัง โดยการใช้มือ เท้า ศอก หัว ซึ่งมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว  ในสมัยก่อนนิยมฝึกหัดในหมู่บ้านนักมวยโบราณเป็นที่นิยมชมชอบของทุกชนชั้น

                คนที่รำมวยโบราณ จะมีการสักลายเต็มตัว  ในสมัยก่อนจะสักด้วยว่าน น้ำยาศักดิ์สิทธิ์  สักเป็นรูปสัตย์ต่าง ๆ ที่เลื่อมใส  มีกำลังอำนาจ นอกจากนั้นยังมีการสักเป็นลวดลายและลงอักษรโบราณที่เป็นคาถาอาคม

                การสักลายนี้ มีจุดมุ่งหมายเหมือนกับมีเครื่องรางของขลังติดตัวไปด้วย ทำให้อยู่คงกะพันแคล้วคลาดและเป็นมหาเสน่ห์  สมัยก่อนการสักลงยันต์ทำกันเป็นเรื่องใหญ่  เพราะต้องสักลงไปบนผิวหนัง ฝังลงไปในเนื้อ โดยใช้เหล็กแหลมเหมือนปากกา  สักด้วยหมึกดำ หมึกแดง ผสมกับว่าน แต่ในปัจจุบันนี้ ไม่มีผู้นิยมสักลาย นักแสดงมวยโบราณ จึงได้พัฒนาการการสักลายมาเป็นการเขียนลายแทน  ดนตรีเป็นทำลองจังหวะภูไท

ฟ้อนแถบลานหรือเซิ้งหลวง

                เป็นการละเล่นของชาวตำบลบ้านติ้ว อ.หล่มสัก  .เพชรบูรณ์  ฟ้อนแถบลาน เดิมเรียกว่า รำแขนลาน  เป็นการฟ้อนในเทศกาลเข้าพรรษาและงานทำบุญบั้งไฟ  มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง ถ้าเจ้าพ่อมีความพึงพอใจ จะทำให้มีความอุดมสมบูรณ์  ฝนตกต้องตามฤดูกาล สีสันของชุดการแสดงนี้อยู่ที่เสื้อผ้าที่เย็บด้วยแถบใบลานที่มีสีสันลวดลายสวยงาม

เซิ้งบั้งไฟ

                ประเพณีชาวอีสาน มีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คลอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต  บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเพณีที่มีส่วนสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาวบ้าน และเป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพทำนา  จุดประสงค์ใหญ่ คือ เพื่อการขอฝนจากพระยาแถน

รำแพรวากาฬสินธุ์

                แพรวากาฬสินธุ์ หมายถึงผ้าแพรวซึ่งทอด้วยชาวบ้านโพน   .คำม่วง จ.กาฬสินธุ์  ซึ่งแต่เดิมมีเพียงสีแดงเท่านั้น ต่อมาเสด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ได้ทรงนำเข้าในโครงการศิลปาชีพ และทรงดำรัสให้มีการพัฒนาสีสันให้หลากหลาย สวยงามมากขึ้น

                ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ได้นำมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดง ในปี 2534  เนื่องใน วโรกาสครบ  60  รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยผู้แสดงจะห่มผ้าแพรวาสีต่าง ๆ ท่ารำก็จะดัดแปลงมาจากวิธีการทอผ้า

เซิ้งโปง

                เซิ้งโปง  เป็นการแสดงที่ผู้แสดงใช้โปงเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง  โดยผู้แสดงจะถือโปงคนละ 1 ตัว และจะเขย่าโปงเป็นลายโปงลาย จากนั้นเป็นการแสดงท่ารำต่าง ๆ ซึ่งมีโปงเป็นองค์ประกอบในการให้จังหวะในการแสดง

เซิ้งสุ่ม

                สุ่ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ใช้ในการจับปลาของชาวอีสาน ซึงมีมาตั้งสมัยโบราณแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เจริญมากขึ้น อุปกรณ์ชิ้นนี้จึงไม่เป็นที่นิยมของชาวบ้านมากนัก  จึงได้มีการคิดท่ารำประกอบอุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้นเพื่อที่จะได้อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านไว้สืบต่อไป

รำมโนราห์เล่นน้ำ

                มโนราห์เล่นน้ำ  คือ ตอนหนึ่งของนิทานเล่ามา  ซึ่งเป็นเรื่องของทุกภาครู้กันดี แต่ตามชื่อเรื่องของชาวอีสานที่เล่ากันนี้ มีชื่อว่า ท้าวสีทน นางมโนราห์  ซึ่งนำเอาตอนหนึ่งในเรื่องมาแสดง คือ ตอนนางมโนราห์อาบน้ำ  พร้อมกับพี่ทั้งหกและนางได้ไปติดบ่วงนายพรานเข้า พวกที่ทั้งหกตกใจกลัวแต่ช่วยอะไรนางไม่ได้  จึงได้บินกลับคืนเขาไกรลาส  ซึ่งเหลือแต่นางมโนราห์ คนเดียวที่ติดบ่วงของนายพราน

                ทำนองดนตรีในชุดนี้ใช้ลายลำเพลิน ซึ่งเป็นทำนองที่มีจังหวะสนุกสนาน เร้าใจ และรวดเร็ว

เรือมปันโจ

                เป็นพิธีกรรมที่ชาวเขมรเรียกว่า “ปันโจบอนล็อด” คือพิธีประทับทรงของเทพยดาเพื่อมารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขณะที่ประทับทรวง จะมีการร่ายรำด้วยลีลาที่งดงามและเป็นความเชื่อว่า ท่าร่าย รำนั้น คือท่ากายภาพบำบัด  เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บนั้นเอง

รำโปงลาง

                รำโปงลางเป็นรำที่ใช้ประกอบการแสดงดนตรีพื้นเมืองที่เรียกว่า “โปงลาง”  เพลงที่ใช้บรรเลงเรียกว่า “ลาย” ลายต่าง ๆ นำมาจากการเลียนเสียงธรรมชาติ เกิดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ลายต่าง  ๆ ที่ใช้ประกอบการรำได้แก่ ลายลมพัดพร้าว ลายโปงลาง ลายช้างขึ้นภู  ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง  ลายภูไทยเลาะตูม

รำคอนสวรรค์

                รำคอนสวรรค์ คำว่า “คอนสวรรค์”  เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในประเทศลาวในสมัยที่ประเทศไทย  และลาวยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  รำนี้จึงได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย  ซึ่งเป็นการร่ายรำที่มีลีลาอ่อนช้อยงดงามมาก

รำศรีผไทสมันต์

                เป็นการรำที่ประดิษฐ์ท่ารำจากอาชีพเลี้ยงไหม ทอผ้าของอีสานโดยจะเริ่มตั้งแต่ปลูกต้องหม่อน-เก็บใบไหมไปเลี้ยงตัวไหม  การสาวไหม  การเข็นไหม  แล้วนำไหมนั้นทอผ้าเป็นผืนผ้าทำนองเพลงที่ใช้เป็นทำนองกันตรึม   ซึ่งลีล่าการร่ายรำเป็นที่สนุกสนาน  คณะอาจารย์โรงเรียน     สิรินธร โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์  เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์

                ฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนประกอบการรำแบบภูไท  ซึ่งปรับปรุงมาจากการเซิ้งบั้งไฟและการฟ้อน  ท่าดอนตาล ผู้แสดงเป็นหญิงทั้งหมด โดยนายมณฑา  ดุลณี  ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านโพน  เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำให้เป็นระเบียบ 4 ท่า  ส่วนท่าอื่น ๆ คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์  เป็นผู้ประดิษฐ์โดยได้ยึดเอาการฟ้อนของชาวภูไทคำม่วง เขาวงและกุฉินารายณ์  ทำการแสดงครั้งแรกที่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อปี พ.. 2537

ลักษณะการแต่งกาย

                เสื้อแขนยาวสีดำ  คอตั้งคอเสื้อใช้ผ้าขิด  ขลิบริมสาบเสื้อด้วยผ้าสีขาว ริมคอเสื้อด้านบนใช้ลูกปัดเล็ก ๆ ร้อยประดับโดยรอบกระดุมใช้เหรียญเงินเก่า ๆ เจาะรูแล้วเอากระดาษสีต่าง ๆ ร้อยทับเหรียญอีกทีหนึ่ง เย็บเป็นแถวลงมาเกือบถึงชายเสื้อ ผ้าถุงใช้ผ้าซิ่นไหมทอเป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงาม หรือใช้ไหมมัดหมี่ริมผ้าซิ่นทดลวดลายเป็นเชิงลวดลายนั้นเป็นเอกลักษณ์ของภูไทบ้านโพนโดยเฉพาะ  สไบใช้ผ้าแพรวาพาดเฉียงห่มทับไหล่ซ้ายปล่อยชายทิ้งไว้ด้านหลังหรือห่มเฉียงจากไหล่ซ้าย มาติดเข็มกลัดที่เอวขวาหรือผู้ทิ้งชายยาว  ผมเกล้าสูงและมีผ้าฝ้ายทำเป็นชายอุบะห้อยทิ้งชายลงด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ความงาม

ไทภูเขา

                หมายถึงชาวไทภูเขากลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามแถบภูเขา  ในเขตอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  การร่ายรำจะแสดงให้เห็นถึงการที่ชาวภูไท ขึ้นไปเก็บหน่อไม้ เก็บผักหวาน เก็บใบย่านาง บนภูเขา เพื่อนำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงจะมีจังหวะตื่นเต้นเร้าใจ

ลักษณะการแต่งกาย

                หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีแดง  นุ่งผ้าถุง ลายมัดหมี่สีดำ ผ้าแพรวาพาดบ่า  ศรีษะใช้ผ้าแพวาโพกหัว ใช้สีผ้าคาดเอว

                ชาย สวมชุดหม้อฮ่อมใช้ผ้าขาวม้าโพกหัวและคาดเอว สะพายย่าม

 

 


เนื้อร้องประกอบการแสดง

บายศรีสู่ขวัญ

(ท่อน1)

           มาเถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
หมู่ชาวเมืองมาเบื้องขวานั่งส่ายราย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
ยอพาขวัญไม้จันทร์เพลิดแพร้ว ขวัญมาแล้ว มาสู่คิงกลม
เกศแก้วหอมลอยลมทั้งเอื้อนชวนชมเก็บเอาไว้บูชา
ยามฝนพร่ำเจ้าอย่าคลาย ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา
อยู่ที่ไหนจงมา รัดด้วยชัยยามาคล้องผ้าแพรกระเจา

ท่อน2

       อย่าเพลินเผลอ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
อยู่แดนดินใดหรือฟ้าฟากไกลขอให้มาเฮือนเฮ้า
 เผืออย่าคิดอะไรสู้เก่า ขออย่าเว้าขวัญเจ้าจะตรม
 หมอกน้ำค้างพร่างพรมขวัญอย่าเพลินชมป่าเขาลำเนาไพร
เชิญมาทัดพวงพยอม ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ
เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ร้อยพวงมาลัยจะคล้องให้สวยรวย

รำภูไท 3 เผ่า

เผ่าที่ 1 (เผ่าสกลนคร)

                              ไปเย้อไปไปโห่เอาชัยเอ้าสอง (ซ้ำ)         ไปโฮมพี่โฮมน้องไปช่วยแซ่ซ้องอวยชัย
                            เชิงเขาแสนจนหนทางก็ลำบาก (ซ้ำ)        ตัวข้อยสู้ทนยากมาฟ้อนรำให้ท่านชม

                                                เผ่าที่ 2 (เผ่ากาฬสินธุ์)

                                    โอ้ยน้อ… ละบ่าวภูไทเอย                  ชายเอยอ้ายได้ยินบ่อเสียงน้อง
                                    คองน้ำตาเอ้นมาใส่                               สาวภูไทไห้สะอื้น
                                    มายืนเอิ้นใส่พี่ชายอ้ายเอ้ย…..อ้ายเอย
                                    ชายเอยเห็นว่าสาวภูไทน้อง              อยู่บ้านป่านาดอน
                                    หากินหมูกินแลน                                 หมู่กระแตดอกเหนอ้ม
                                   ซางมาตั๋วให้นางล้ม                              โคมหนามแล้วถิ่มปล่อย
                                   ทำสัญญากันเรียบร้อย                          ซ้างมาฮ้างดอกห่างกัน อ้ายเอ้ย.อ้าย

รำไทพวน

                โอ้น้อ..มื้อนี้แม้ เลิศล้ำ มือประเสริฐ ดีงาม เฮาจึงมีเวลาพบกัน คราวนี้ โอกาสดีนำได้ เดินทางมาต่านกล่าว ถามขาวข่าวพี่น้องทางพี่ผู้สู่คน พี่น้องเอย

                โอ้น้อ..ยามเมือมาพบพ้อ แสนชื่นสมใจ พี่น้องเอย พอสร้างไขวาจาสิ่งใดมาเว้า เฮือมขอเอามือน้อมประนมกรละต้านต่อ ขอขอบใจพี่น้องทางพี่ผู้สู้คน พี่น้องเอย

                โอ้นอ..เฮานี่แม้ ชาติเชื้อสาวเผ่าไทพวน พี่น้องเอยเนาอยู่เมืองเชียงขวางประเทศลาว ทางโพ้นกับทางโขงพันเกือบบงบานพะนาหย้า พากันเนาคึกส่างทางพู้นสู่คน พี่น้องเอย

                โอ้น้อ..เฮานี่แม้ ชาติเชื้อสายเลือดเดียวกัน พี่น้องเอย มีหลายอันคือกันจ่อต่างกันบ่อน้อย คอยล่ำแลสีหน้าอาภรณ์ ทุกสิ่งอย่างทุกข้าวทางปากเว้าเสมอด้ามดั้งเดียวกันนั่นแหล่ว

                โอ้น้อ..ที่มีกาลหาบตอน ยังก้มเกียรติจบงาม การอยู่กินไปมาสะดวกดีทันด้านสมว่าเป็นเมืองบ้านเฮือนเคียงของน้องพี่ เฮียบได๋เนาที่นี่เสมอบ้านแคบตน พี่น้องเอย

                โอ้น้อ..มาถึงตอนชายนี้ เนี่ยมก็กล่าวอวยพร ขอวิงวอนคุณครู พระธรรมองค์เจ้า ขอให้มานำเข้าบันดาล และอยู่ส่ง ขอให้บ่งพี่น้อง อายุหมั่นหมื่นปี เว้ามาฮอนบอนนี้นางขออวยลาลง ขอขอบใจโคงสายโง้ง ลุง อ่าว ป้า ที่ได้อดสาเยินฟังเฮา น้องต้านกล่าว หวังว่าคราวหน้าพ้นคงสิได้พบกันพี่น้องเอย ลา..ลงท้อนั้น..แหล่ว

ฟ้อนแคน

                (เกริ่นได้ยินเสียงแคนอ้าย คืนเดือนหงายคิดฮอดพี่ เสียงลมพัดวี่วี่ พัดแฮงคิดฮอดอ้าย โอยหลายมื้อ แต่คิดนำ จักแมนกรรมหยังน้อง จั่งหมองใจได้ไห้จ่ม  พี่เอ๋ย..พี่บ่อสมความมาดแม้นแลงเซ้าดูเป่าดาย ซ่างบ่อกายมาบ้าน ให้นงครวญได้เหลียวพอ พอให้ใจอีน้อง ๆได้มองอ้ายให้ชื่นใจ…โอ้เด้นอ

                (ร้อง)  เสียงแคนดัง ฟังตุแลแล่นแต้                ตุแลแล่นแต้ ไผนอมาเป่าๆ

เสียงเหมือนดังเรียกสาว ถามว่าบ้านอยู่ใส น้องได้ฟังเสียงแคนดังหวนไห้ แคนบาดดวงใจ      เหมือนอ้ายเคยเป่าให้ฟังๆ

                * โอ้..ฮักเอ๋ย  ก่อนอ้ายเคยเว้าสั่ง ฮักอ้ายบ่จืดบ่จาง เหมือนแคนอ้ายสั่งดังแล้แล่นแต ๆ 

        บ่ลืมเลือน ยามเมื่อเดือนส่องหล้า สองเราเคยเว้าว่า บ่ลืมสัญญา ฮักใต้ร่มไทร ยามน้องจาก มาอ้ายจ๋า อย่าห่วงอาลัย เสียงแคนคราวใด ยังคิดฮอดอ้ายอยู่ทุกเวลาๆ

(ซ้ำ *)

สาวกาฬสินธุ์ลำเพลิน 

                (เกริ่น)    ละจั่งว่าเปิดผ้าม่านกั้ง แจ้งส่วางสีขาว ขาว….. ละสาวกาฬสินธุ์มาหา อย่าท่าทางหลายเด้ออ้ายๆ

                (ลำ)        โอยเดชาย มามาอ้ายมาไปชมถิ่น มามาอ้ายมาไปชมถิ่น ทางกาฬสินธุ์บ้านน้องสิลองเว้าสู่ฟัง บ่ต้องตั้งใจต่อรอฝนถึงฤดูปักดำสิหลั่งลงทางน้ำ ตามคลองน้อย ซอยมาจากเขื่อน  คือจั่งเดือนส่องแจ้งบ่มีเศร้าเก่าหมอง

                (ร้อง)     ตาเหลียวมองจ้องเขื่อนลำปาว ตาเหลียวมองจ้องเขื่อนลำปาว  นั่งภูสิงห์สูงยาวเป็นทิวทัศน์งามตา ถึงเดือนห้าสงกรานต์เดือนม่วน จนคำนวณบ่ได้ โอยไหลเข้าอั่งโฮม

                                สุขสมชมแดนสีสด จังหวัดงามหมดจดเหมือนดั่งเมืองแมน ได้ชมสมใจสุขแสน บ่มียากแค้นกาฬสินธุ์โสภา เอ้ามามามา เอ้ามาพี่มากราบ ให้ท่านได้ทราบว่าพี่มาเยือน เก็บดอกไม้จุดธูปจุดเทือน เก็บดอกไม้จุดธูปจุดเทือน ยกมือเหนือเศียรให้ท่านช่วยคุ้มครอง  รูปจำลองพระโสมพระมิตร รูปจำลองพระโสมพระมิตร เหมือนดังดวงจิตของชาวน้ำดำ กราบกรานทุกวันเย็นค่ำ เพราะเป็นผู้นำกาฬสินธุ์ถิ่นงาม

                (ลำ)        หันมาเว้าเมืองงามนามแก่น  หันมาเว้าเมืองงามนามแก่น แฟนพูไปอาจฮู้  ดูแล้วเที่ยวมางามฟ้าเกินม่วนหัวใจ แฟนพุไปเที่ยวชม สิบ่ลืมเมืองน้อง สิบ่ลืมเมืองน้อง……

รำตังหวาย

                บัดนี้ ข้าขอยอนอแมนมือน้อม  ชูลีกรนอแมนก้มกราบ  ชูสลอนนอนบ่นอมนิ้วถวายไท้ ดอกผู้อยู่เทิ้ง คนงามของน้องนี่น่า คนงามเอย…

                ชายเอย จุดประสงค์ นอเพื่อหมายแม้น เผือไปซินนอผืนบ้านเก่า ของไทเฮานอตั้งแต่ครั้ง โบราณพื้นให้เฟืองให้ฟู คนงามของน้องนี้นา   คนงามเอย…

                ชายเอย หาเอาตังร้อแมนหวายเซิ้ง ลำแตเถิงน้อบ้านเกียรติกอ สืบแต่กอน้อสุมผู้เฒ่าโบราณ ผืนดอกกะพื้นกะฮ้าย ๆๆ  คนงามของน้องนี่หนา คนงามเอย…

                ชายเอย ปูเป็นทางน้อเผือเหลือแปลง คลองอีสานน้อบ่ให้หลุดล้น นาฎศิลป์น้อแมนคิดค้น นำมาร้องออโฆษณา อ้ายพี่คนงามนี่นา   คนงามเอย…

                ชายเอย  คิดฮอดคราวน้อยามเฮาเว้า  ในเถียงนานั้นบ่มีฟ้า แม้สิฟาดน้อแมนไม้คอน  แม้สิย้อนน้อแมนไม้แซ ตีน้องนั่นแต่ผู้เดียว แต่ผู้เดียว แต่ผู้เดียว  คนงามของน้องนี่หนา คนงามเอย…

                ชายเอย   คนจบๆน้อแมนจังอ้าย งามๆ น้อแมนจังเจ้า ซางบ่ไปน้อแม่นกินข้าวหัวมองน้อเจ้านำไก่ คนขี่ลายน้อแมนจังน้อง กินข้าวน้อแม่นบายปลา อ้ายพี่คนงามนั่นนา คนงามเอย…

                ชายเอย  ไปบ่เมือน้อแม่นนำน้อง เมือนำน้องแม่นนำบ่อ ค่ารถน้องบ่ให้เสีย ค่าเฮือน้องบ่ให้จ้าง น้องสิตายน้อแม่นเป็นช้าง เอรวัณน้อให้อ้ายขี่ ตายเป็นรถกะน้อแท็กซี่ให้อ้ายน้อแม่นขี่เมือ  อ้ายพี่คนงามนี่นา คนงามเอย…

                ชายเอย ย้านบ่จริงน้อแมนจังเว้า สีชมพูน้อเจ้าจังว่า ย้านคือตอก น้อแม่นมัดกล้า ดำนาแล้วละเหยียบใส่ตมๆ คนงามของน้องนี่หนา คนงามเอย…

                บัดนี่  ขอสมพรน้อแม่นไปไฮ ผองเจ้าไทน้อทุกๆท่านสุขสราญ น้อทุกถ้วนหน้า ละสดชื่น ทุกคืนทุกวัน ๆคนงามของน้องนี่หนา น้องขอลาแล้ว

เต้ยหัวโนนตาล

ชาย         โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย น้องนี้เนาอยู่ทางแคว้นๆ  แดนใด๋ละน้องพี่ ปู ปลา มีบ่ละน้อง 
                ทางบ้านหม่อมพระนาง

หญิง       โอเดพี่ชายเอย… พี่ชายเอ้ย น้องนี้เนาอยู่ทางก้ำๆ  กะสินคำดำนาห่าง โอเดพี่ชายเอย ปู ปลา เต็ม
 อยู่น้ำ ชวนอ้ายไปเที่ยวชม

ชาย         โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย อ้ายมีจุดประสงค์แน่น หาแฟนเมืองน่ำก่ำ เมืองดินดำนี้ละน้อง ทางอ้ายจะเกี่ยวดอง กะจั่งว่าแก้มอ่องต่อง ไสยองยองเอย

หญิง       โอเดพี่ชายเอย….พี่ชายเอ้ย เขาซ่าว่านกเขาตู้ บ้านอ้ายมันขันหอง เขาซ่าว่านกเขาทองบ้านอ้าย
                มันขันม่วน  โอเอพี่ชายเอย บัดเทือมาฮ้อดแล้ว คู่ค้างซ่าง บ่โตน คันบ่โตนเจ้าคอนใต้ โอซ่างว่า
               โตนว่า  คอนต่ำ โอเดพี่ชายเอย

ชาย         โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย คันว่าสิบแหนงไม้ คันว่าซาวแหนงไม้ บ่อคือแหนงดอกไม้ไผ่ โอเดพระนางเอย อยากเป็นเขยบ้านน้องทางอ้ายจังต่าวมา

หญิง       โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย อ้ายอย่าตั๋วอีนางให้เซไซบ้าป่วง อย่ามาตั๋วให้น้องนางน้อยล่ะ จ่อยโซ

ชาย         โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย อ้ายบ่ตั๋วพระนางน้อง คำนางดอกน้องพี่ ฮักอีหลีตั๋วละน้อง ทางอ้ายจั่งด่วนมา

หญิง       โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย คันบ่จริงอ้ายอย่าเว้า คันบ่เอาอ้ายอย่าว่า ทางปู่ย่าเพิ่นบ่พร้อมยอมเอาน้องขึ้นสู่เฮือน

ชาย         โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย  คันว่าเฮือนซานอ้าย น่อซานอ้ายดีหลายได้อุ่น นับเป็นบุญพี่อ้ายคันน้องเข้าฮ่วมเฮือน

หญิง       โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย น้องนี้คิดฮอดอ้ายๆ คืนเดือนหงายสิแนมเบิ่งๆ โอเดพี่ชายเอยใจซิเถิงหม่อมอ้ายคืนนั้นให้พี่คอย

ชาย         โอเดพนะนางเอย…พระนางเอ้ย อ้ายสิขอรำเกี้ยวๆ  คำนางให้มันม่วน อ้ายซิชวนหมู่เพื่อนลำ
                 เกี้ยวเข้าใส่กัน

 

.:: แบบฝึกอ่านโน้ตเพลงไทย ::.

 

 

วิธีการอ่านโน้ตลายดนตรีพื้นเมืองอีสาน

องค์ประกอบของโน้ต

                การใช้สัญลักษณ์เพื่อบันทึกเสียงดนตรี ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมใดก็ตามไม่สามารถที่จะใช้แทนในทุกลีลาของดนตรี ได้ครบทุกกระบวนความ อย่างไรก็ตามไม่ว่าการบันทึกโน้ตของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมจะมีการกำหนดกฏเกณฑ์มากน้อยต่างกันเพียงใดก็ตาม สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงมักจะประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ

1.       สัญลักษณ์แทนความสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch)

2.       สัญลักษณ์แทนความสั้นยาวของเสียง (Duration)

3.       สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ

1. สัญลักษณะแทนึวามสูง-ต่ำ ของเสียง (Pitch)    ระดับความสูง-ต่ำของเสียงนับเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างทำนองดนตรี ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับเสียงอาศัยระดับความสูง-ต่ำ ของบรรทัด 5 เส้นเป็นตัวกำหนด สำหรับระบบโน้ตในดนตรีพื้นเมืองอีสาน หรือ ดนตรีไทย  สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงถูกกำหนดโดยตัวอักษรจำนวน 7 ตัว และสัญลักษณ์การแทนเสียงสูง –ต่ำ โดยมี จุด (.) ข้างล่างตัวอักษร เป็นเสียงต่ำ ส่วนมีจุด (.) ข้างบนตัวอักษร เป็นเสียงสูง ดังแสดงตารางดังนี้

เสียงต่ำ

เสียงธรรมดา

เสียงสูง

ดฺ ย่อมมาจาก โด (ต่ำ)

  ย่อมาจาก โด

ดํ  ย่อมาจาก โด (สูง)

รฺ ย่อมาจาก เร (ต่ำ)

  ย่อมาจาก เร

รํ  ย่อมาจาก เร (สูง)

มฺ ย่อมาจาก มี (ต่ำ)

  ย่อมาจาก มี

มํ

ฟฺ ย่อมาจาก ฟา (ต่ำ)

  ย่อมาจาก ฟา

ฟํ

ฺซฺ ย่อมาจาก ซอล (ต่ำ)

  ย่อมาจาก ซอล

ซํ

ฺลฺ  ย่อมาจาก ลา (ต่ำ)

  ย่อมาจาก ลา

ลํ

ฺทฺ  ย่อมาจาก ที (ต่ำ)

  ย่อมาจาก ที

ทํ

                ถึงแม้ว่าชื่อประจำระดับเสียงโน้ตๆ ที่เลียนแบบมาจากระบบโน้ตดนตรีสากลก็ตาม ขอให้เข้าใจว่าชื่อเรียกระดับเสียงต่างๆ ในดนตรีพื้นเมืองอีสาน ดนตรีไทย และดนตรีสากลที่เหมือนกันนั้น มีระดับความสูง-ต่ำ ของเสียงและขั้นคู่เสียงไม่เท่ากัน จากการที่มีระดับเสียงสูง-ต่ำ ของเสียงที่เกิดจากการใช้สัญลักษณ์นั้น ไม่สามารถมองเห็นเป็นภาพความสูง-ต่ำลดหลั่งกันเหมือนเช่นในระบบโน้ตดนตรีสากล ดังนั้นในการฝึกระดับเสียงของดนตรีพื้นเมืองอีสานในระยะเริ่มต้นอาจมีความยากอยู่บ้าง เพื่อให้สามารถทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับระดับความสูง-ต่ำของเสียงอาจใช้กระบวนการการฝึกหัดไล่บันไดเสียง โดยการนำอักษรแทนระดับเสียงต่างๆ  ใส่ลงบนขั้นบันได ดังรูปภาพนี้

 

 

คำอธิบาย: http://std.kku.ac.th/4632200551/not1.h3.gif
 

 

 

2.  สัญลักษณ์แทนความสั้น-ยาวของเสียง ความสั้น-ยาวของเสียงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการกำหนดลีลาจังหวะในดนตรีตะวันตก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความสั้น-ยาว สังเกตได้จากลักษณะที่แตกต่างกันของตัวโน้ต เช่น ตัวกลม ตัวขาว ตัวเขบ็ด (0   0    0   ) เป็นต้น

                ระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย มีสัญลักษณ์ที่ตรงกันข้ามกับระบบโน้ตสากล คือ อัตราจังหวะความสั้น-ยาว ของเสียงในระบบโน้ตสากลขึ้นอยู่กับลักษณะที่แตกต่างกันของโน้ตเป็นสำคัญ ในขณะที่ตัวโน้ตตามระบบดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือ ดนตรีไทย ไม่สามารถแทนค่าความสั้น-ยาวของเสียงได้ อัตราความสั้น-ยาวระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญประการ คือ ห้องเพลง และการจัดเรียงโน้ต

                                2.1  ห้องเพลง   ห้องเพลงในระบบโน้ตดนตรีพื้นเมืองอีสานหรือดนตรีไทย ทำหน้าที่เช่นเดียวกับจังหวะเคาะ (Beat)  โดยจะมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในอัตราช้า-เร็วอย่างสม่ำเสมอ ทุกบรรทัดที่ใช้บันทึกโน้ตจะประกอบด้วย 8 ห้องเพลง โดยตำแหน่งของจังหวะเคาะจะอยู่ที่ส่วนท้ายสุดของตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลง ดังนี้

1

2

3

4

5

6

7

8

                                2.2 การจัดเรียงตัวโน้ต   เนื่องจากสัญลักษณ์ตัวอักษร ด ร ม ฟ ซ ล ท  ไม่สามารถแยกแยะอัตราความสั้น-ยาวของเสียงที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการจัดเรียงตัวโน้ต ตามหลักการพื้นฐานของการจัดเรียงตัวโน้ต ในแต่ละห้องเพลง จะบรรจุไปด้วยหน่วยเคาะย่อยเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย  ดังนี้

เคาะ               เคาะ               เคาะ              เคาะ                เคาะ             เคาะ           เคาะ         เคาะ           

1234

1234

1234

1234

1234

1234

1234

1234

ในการบันทึกตามระบบตัวโน้ตของดนตรีพื้นเมืองอีสาน โน้ตอักษร ด      …..แต่ละตัวและเครื่องหมาย – (ลบแต่ละอันมีความยาวเท่ากันบ 1 จังหวะเคาะย่อยเท่ากันหมด เช่น  

                                                --             เท่ากับ    -                           

                                                -            เท่ากับ    รด

                                                --          เท่ากับ    -รด

                                                -         เท่ากับ    -มด

                                                --       เท่ากับ    -มรด

      สัญลักษณ์ –(ลบแต่ละอันเมื่อปรากฏต่อท้ายตัวอักษรตัวใดแล้ว จะสามารถยืดเสียงของโน้ตตัวนั้นให้ยาวออกไปอีกอันละ 1 หน่วยเคาะย่อย เช่น

                                                                /---/---/--/

                                                                มี---ซอล----ลา---ซอล---ลา

                                                                1234/1234/12/121/

1.       มีความยาวเท่ากับ 4 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยตัวอักษร ม (มีหนึ่งเคาะย่อย และ สัญลักษณ์ – (ลบอีก 3 เคาะย่อย

2.       มีความยาวเท่ากับ 21

3.       มีความยาวเท่ากับ 2 หน่วยเคาะย่อย ประกอบด้วยโน้ตอักษร ล (ลา)  หนึ่งเคาะย่อย และสัญลักษณ์ – (ลบอีก 1 เคาะย่อย

4.       มีความยาวเท่ากับ 3

5.       มีความยาวเท่ากับ 1 เคาะย่อย ซึ่งเป็นอัตราความยาวของตัวอักษร   (ลา)

การบันทึกเพลง สัญลักษณ์อักษรที่ใช้แทนเสียงโน้ต ด ร ม ….. และสัญลักษณ์ยืดเสียง – (ลบจะสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งกันไปมาตามท่วงทำนองของเพลง ดังนั้นการเรียงโน้ตจึงสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ ตามตัวอย่างที่ยกมานี้

กรณีมีโน้ตห้องละ 1 ตัง 

                                      /--- / ---  / ---  / --- /

กรณีมีโน้ตห้องละ 2 ตัว

                                                          / -- / -- / -- / --/

กรณีมีโน้ตห้องละ 3 ตัว

                      / -มซม / -ดมร / -มซด / -ลลล /

กรณีมีโน้ตห้องละ 4 ตัว

                  / ซลดร / มรดล / ชลดร / รรรร /

กรณีที่มีการผสมผสานกันหลายรูปแบบ 

----

--

--

--

-ลฺลฺลฺ

--

--

--

-ลฺลฺลฺ

--

--

--

-ลฺลฺลฺ

--

--

--

---

--

รดรมฺ

-ซฺ-ลฺ

---

--

รดรมฺ

-ซฺ-ลฺ

 

 

 

 

 

 

.:: โน้ตลายดนตรีพื้นบ้านอีสาน ::.

 

 

โชว์วง

ท่อน 1

----

----

---

----

----

----

----

----

--ดํ

--ดํ

--

--

----

----

---

----

----

กลองบรร

เลงจังหวะ

ช่า

รอบ

ส่งกลอง

ขึ้น

----

----

--

--ดํ

--

--

--

--

--

----

--

--ดํ

--

--

--

--

--

----

--

---

--

---

--

--ลฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-ลฺ-

---ลฺ

--

---

--

--

--

----

---

---

--

----

---

---

--

ท่อน 2

----

--

----

--

----

--

--

--

----

--

----

--

-ดํ-

--

---

--

----

--

----

--

-ดํ-

--

--

--

----

--ดฺ

---

-ลฺ-

---ลฺ

--

--ลฺ

--ลฺ

----

-ลฺ-

---ลฺ

--

---

--

--

--

----

---

---

--

----

---

---

--

ท่อน 3

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ดฺ

ท่อน 4

----

----

----

----

----

---

----

----

-ดํลดํ

-ลซล

-ซมซ

-มรม

-ดํลดํ

-ลซล

-ซมซ

-มรม

-ดํลดํ

-ลซล

-ซมซ

-มรม

-รดร

-มรม

-รดร

ดลด

-มรม

-รดร

-ดลด

-ลซล

 

 

 

 

ท่อน 5

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-

ท่อน 6

----

-มฺ-มฺ

-ซฺ-ซฺ

-ลฺ-ลฺ

--

-ลฺ-ลฺ

-ซฺ-ซฺ

-มฺ-มฺ

----

--

-ดํ-ดํ

-รํ-รํ

-มํ-มํ

-รํ-รํ

-ดํ-ดํ

--

ท่อน 7

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

----

-มฺ-ลฺ

-ลฺ-ซฺ

-ซฺ-ลฺ

--

--

--

---

--

---

----

----

---

----

----

---


ลายภูไท

จังหวะช้า

----

-มฺ-ดฺ

-รฺ-

--

-ลฺลฺลฺ

--ดฺ

-รฺ-

--ดฺ

-ลฺลฺลฺ

--

--

--ดฺ

-ลฺลฺลฺ

--

--

--ดฺ

---

--

-รฺ-มฺ

-ซฺ-ลฺ

---

--

-รฺ-มฺ

-ซฺ-ลฺ

ลายมโหรีอีสาน (หมากกะโหร่งกาฬสินธุ์

จังหวะช้า

ท่อน 1

----

---

--มม

--ลฺ

---

ลฺทฺดฺรฺ

รฺรฺ-รฺรฺ

-รฺ-ซฺ

---ลฺ

ทฺดฺรฺมฺ

มม-มม

--

----

-ดํ-

---

-ลซม

----

-รฺ-

รดฺรม

--

----

--

---

--

----

-ดฺ-ทฺ

--ดฺ

-ทฺ-ลฺ

---

ลฺทฺรฺลฺ

ทฺลฺซฺมฺ

--ลฺ

ท่อน 2

----

---ดฺ

---

มรซม

----

-ซมซ

---ดฺ

--

----

--

---ดฺ

-ทฺ-ลฺ

---ทฺ

ลฺทฺรฺลฺ

ทฺลฺซฺมฺ

-ซฺ-ลฺ

ท่อน 3

----

-มซล

-ลดํล

ซมซล

(-----

----ล้อ--

----

----)

----

--

--มซ

ลซมซ

(-----

----ล้อ--

----

----)

----

-มซล

-ลดํล

ซมซล

(-----

----ล้อ--

----

----)

----

--

--มซ

ลซมซ

--ดํ

--

---

รดฺ-

---ดฺ

รดฺทฺลฺ

---ดฺ

รดฺทฺลฺ

---ดฺ

รดฺทฺลฺ

ทฺลฺซฺมฺ

-ซฺ-ลฺ


ลายโปงลาง

จังหวะช้า

----

---มฺ

-ซฺ-ลฺ

-ซฺ-ลฺ

----

---

-ดฺ-ลฺ

-ซฺ-ลฺ

----

---ดฺ

--

--

----

----

--

--

----

---

--

--

----

---รํ

-ดํ-

--

---

---

--

--

----

---ดฺ

--

--

---

---

--

--

----

---ดฺ

--

--

----

--

-ดฺ-ลฺ

-ซฺ-ลฺ

-ดฺ-รฺ

--

-ดฺ-ลฺ

-ซฺ-ลฺ


ลายเต้ยธรรมดา

จังหวะเร็ว

---ลฺ

-ดฺ-

-มรดฺ

-ลฺลฺลฺ

----

-ซมซ

-ซมดฺ

รมซม

----

--

ซลดํล

ซมรม

-มซร

-ดฺลฺดฺ

-ดฺ-

--

--ดฺ

รมซม

-มซร

-ดฺลฺดฺ

--ดฺ

รมซม

-มซร

ดฺลฺ-ดฺ

--

-มซร

-ดฺ-

มซฺ-ลฺ

 

 

 

 


ลายเต้ยโขง

จังหวะเร็ว

----

--

--

--

---

-ดํ-

--

--

----

--

--

--

---

-ดํ-

--

--

----

--

--

-ดฺ-

---

--

--

--ลฺ

---

--

--

-ซฺ-ลฺ

---

--

--

-ซฺ-ลฺ


ลายเต้ยพม่า

จังหวะเร็ว

----

--ทํ

--ทํ

--

--

-ทํ-

--ดฺ

--

----

--ทํ

--ทํ

--

--

-ทํ-

--ดฺ

--

----

--มม

--

--

--

-ลฺ-

--

--

----

-ลฺ-

----

--

--

--

--

--

----

--รฺ

----

-ลฺ-ทฺ

-ลฺ-ซฺ

-ลฺ-ทฺ

--

-ทฺ-ลฺ

----

--รฺ

----

-ลฺ-ทฺ

-ลฺ-ซฺ

-ลฺ-ทฺ

--

-ทฺ-ลฺ

-ทฺลฺซฺ

-ลฺ-ทฺ

--

-ทฺ-ลฺ

 

 

 

 

ลายบายศรี

จังหวะช้า

----

--

--

----

--

--

--

----

--

--

--

-----

--

--ทฺ

-ลฺ-ซฺ

----

----

-ลฺ-

-ลฺ-

---

--

--

-ลฺ-

---

--

--

--

----

(-มรด

--

-)-

----

-ดํ-

--

--

----

(---

--

-)-

----

--

--ลฺ

-ซฺ-

----

----

----

---

----

--

--

--

----

(--

---

-)-

---

--

-ดํ-

--

----

(-มรด

--

-)-

----

-ดํ-

--

--

----

---

--

--

----

--

--ลฺ

--

----

----

----

---

----

--

--ลฺ

--

----

--

----

--ลฺ

-ซฺ-ลฺ

--ซฺ

-ลฺ-

-ลฺ-

----

(--

--

--

----

 

 

 

 

 

 

 

·    ขอขอบพระคุณ แหล่งข้อมูล:   อ.สุรพล เนสุสินธ์)คณะศิลปกรรมศาสตร์  (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Free Web Hosting